เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด โดยถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภาคและจังหวัดนั้น ๆ นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี
สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น
มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม
เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว
กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก
กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู
ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง
ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง วิธีปลูกใช้เหง้าหรือหัวอายุ10-12เดือนทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ8-12ซม.หรือมีตา6-7ตา ปลูกลงแปลง
กลบดินหนาประมาณ5-10ซม.
ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ30-70วันหลังปลูก
ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้
ฤดูกาลปลูก :
ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
ฤดูการเก็บเกี่ยว : จะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม
ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท
ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น และขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน
เมื่อได้เหง้ามาแล้ว หากจะนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ควรล้างให้สะอาดก่อน และไม่ต้องปอกเปลือก แต่หั่นเป็นแว่นชิ้นบาง ๆ แล้วนำไปตากแดดสัก 2 วันแล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ เท่าปลายนิ้วก้อย แล้วนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3 เม็ด หลังอาหารและช่วงก่อนนอน หรือจะนำเหง้าแก่มาขูดเอาเปลือกออกแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หากนำขมิ้นมาใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน
จุดเริ่มต้นของการที่คนเราหันมารับประทานขมิ้นชันนั้น เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากชาวอินเดีย หรือที่เรียกว่า ชาวภารตะ ที่นิยมกินขมิ้นชันกันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ส่วนคนไทยก็มีความนิยมกินขมิ้นชันเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้นิยมใส่ขมิ้นชันลงไปในอาหารประเภทแกงเผ็ดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้มีสีเหลืองและยังช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้อีกด้วย รวมทั้งการใส่ลงไปในอาหารก็จะช่วยไม่ให้อาหารบูดเสียง่าย เพราะในขมิ้นชันมีคุณสมบัติที่ช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนั้น การใช้ขมิ้นชันในอาหารจะช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันการเหม็นหืนของน้ำมันและไขมันเมื่อต้องเก็บไว้เป็นเวลานานๆนับว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบในการช่วยถนอมอาหารและยังมีคุณค่าทางโภชนาการให้อาหารได้อีกด้วย
วิธีกินขมิ้นชัน
มีการศึกษาพบว่า การรับประทานขมิ้นตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ กำลังทำงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นให้มากขึ้น โดยวิธีกินขมิ้นชันควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ตามการรักษา- เวลา 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาของปอด หากรับประทานช่วงเวลานี้จะช่วยในการบำรุงปอดช่วยให้ปอดแข็งแรง ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง และช่วยเรื่องภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวก
- เวลา 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือรับประทานยาถ่ายมานาน หากรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ให้บีบรัดตัว เพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไป และช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย หากรับประทานพร้อมกับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง นมสด มะนาว หรือน้ำอุ่น จะช่วยชะล้างผนังลำไส้ให้สะอาดได้
- เวลา 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง และยังช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาตึง บำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้
- เวลา 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลบริเวณปาก บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ การอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป
- เวลา 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง
- เวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และการทำให้เหงื่อออกในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้ร่างกายขับสารพิษออกไปจากร่างกายได้มาก
- เวลา 17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น เมื่อตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายก็จะดีขึ้นด้วย
สรรพคุณทางยา
ขมิ้นชันนอกจากที่จะมีคุณค่าทางอาหารแล้ว
ก็ยังถือเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาอีกด้วย ซึ่งชาวไทยนิยมนำส่วนต่างๆ
มาใช้เป็นยาเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นรับร่างกาย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้
เหง้า : เหง้ารสฝาดหวานเอียด ใช้สำหรับแก้อาการไข้เรื้อรัง
ผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะและโลหิต แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ธาตุพิการ
ขับผายลม แก้ผื่นคัน ขับกลิ่นและสิ่งสกปรกในร่างกาย คุมธาตุ หยอดตาแก้ตาบวม ตาแดง
น้ำคั้นจากเหง้าสดทาแก้แผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ลดอาการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง
นำมาอัดเม็ดทำเป็นยารักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย
กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด
ผงขมิ้น :
(น้ำเหง้าแห้งมาบดเป็นผง) นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
ขมิ้นสด :
(ใช้เหง้าสดล้างให้สะอาด) ตำกับดินประสิวเล็กน้อย
ผสมน้ำปูนใสพอกบาดแผลและแก้เคล็ดขัดยอก เผาไฟ ตำกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ท้องร่วง
แก้บิด
สรรพคุณของขมิ้น
- ขมิ้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
- ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
- ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
- ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
- มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
- ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ
- ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม
- อาจมีส่วนช่วยในการรักษาโรครูมาตอยด์ (ยังไม่ได้รับการยืนยัน)
- ช่วยลดการอักเสบ
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
- ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด
- ช่วยบรรเทาอาการไอ
- ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวกให้มีอาการดีขึ้น
- ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
- ช่วยรักษาแผลที่ปาก
- ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
- น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
- ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วนำมารับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา
- ช่วยแก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
- ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
- ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
- ช่วยในการขับลม
- ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
- มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี
- ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้
- ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
- ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยแก้อาการตกเลือด ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน
- ช่วยแก้อาการตกขาว
- ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
- ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
- ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
- ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
- ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณดังกล่าว
- มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
- ช่วยต่อต้านปรสิตหรือเชื้ออะมีบาที่เป็นต้นเหตุของโรคบิดได้
- ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง เป็นต้น
- มีฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านสารก่อมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย และโรคเบาหวาน
- ช่วยสมานแผลตามร่างกายให้หายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการนำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนบาดแผล และยังช่วยให้บาดแผลไม่ให้ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวได้ และสามารถเร่งให้แผลที่ติดเชื้อหายได้
- ขมิ้นยังมีสรรพคุณช่วยในการป้องกันการงอกของขนอีกด้วย โดยผู้หญิงชาวอินเดียมักนำขมิ้นมาทาผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก
- ขมิ้นชันขัดผิว ใช้ทำทรีตเมนต์พอกผิวขัดผิวด้วยขมิ้น ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง ด้วยการนำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2-3 เม็ด แล้วผสมกับมะนาว 1 ลูก ปั่นจนเข้ากัน นำมาพอกหน้าหรือผิวทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
- ขมิ้นเป็นส่วนประกอบของทรีตเม้นต์รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
- ขมิ้นเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในเครื่องสำอางบำรุงผิวต่าง ๆ
- นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย
ผลข้างเคียงของขมิ้นชัน
การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง อย่างไรก็ตาม คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำ และค่อย ๆ ปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้
- ผิวสวยด้วยขมิ้นสูตรแรก ให้นำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- เสร็จแล้วนำมาปั่นด้วยเครื่องปั่น แล้วนำมาใส่กระปุกแช่ในตู้เย็นให้ครบ 1 สัปดาห์
- ใช้คอตตอนบัดปั่นหูจิ้มน้ำขมิ้นแล้วนำมาทาหน้าก่อนล้างหน้า 15 นาที
- ควรใช้ตอนเย็นหรือก่อนนอน เพราะอาจทำให้หน้าเหลือง ต้องล้างประมาณ 2 ครั้งถึงจะออกหมด
2.สูตรขมิ้นสด / ดินสอพอง / มะนาว (ช่วยให้ผิวหน้าผ่องใสเนียนเรียบ อ่อนเยาว์ สิวยุบเร็ว)
- เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ขมิ้นสดเล็กน้อย / ดินสอพอง 3 เม็ด / น้ำมะนาว 1 ผล
- นำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- นำขมิ้นที่หั่นแล้วมาปั่นรวมกับดินสอพองและน้ำมะนาวจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน
- จะได้เนื้อครีมเข้มข้น ล้างหน้าให้สะอาดแล้วนำครีมที่ได้มาพอกทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก
- ควรทำเป็นประจำและสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งจะช่วยให้เห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น
3.สูตรผงขมิ้น / น้ำมะนาว (ช่วยให้หน้าเนียนใส ช่วยลดอาการบวมแดงจากสิว ช่วยลดสิวและช่วยให้สิวยุบเร็ว)
- นำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำมะนาวพอข้น
- นำมาแต้มบริเวณที่เป็นสิวก่อนนอนหรือจะพอกทั่วใบหน้าก็ได้
- ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาทีแล้วล้างออก (หรือจนกว่าจะรู้สึกว่าแสบก็ให้ล้างออกได้เลย)
- นำผงขมิ้นผสมกับน้ำนมให้เข้ากัน
- ล้างหน้าให้สะอาด แล้วนำขมิ้นที่ได้มาขัดบนผิวหน้าอย่างเบามือจนทั่วใบหน้า
- พอกทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ๆ
5.สูตรผงขมิ้น / น้ำผึ้ง (บำรุงผิวหน้าให้ผ่องใส อ่อนเยาว์ รักษาสิวเสี้ยน กระชับรูขุมขน รักษาแผลสิว)
- นำผงขมิ้นผสมกับน้ำผึ้ง ผสมให้เข้ากัน
- ล้างหน้าให้สะอาด แล้วนำขมิ้นที่ได้มาขัดบนผิวหน้าอย่างเบามือจนทั่วใบหน้า
- แล้วพอกทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ๆ
6.สูตรผงขมิ้น / ดินสอพอง (ช่วยฆ่าเชื้อโรค บรรเทาอาการสิว)
- นำดินสอพองมาผสมกับผงขมิ้นแล้วคนให้เข้ากัน
- เสร็จแล้วนำมาแต้มที่หัวสิว
- หากจะนำมาพอกหน้าควรลดปริมาณผงขมิ้นลงจากเดิม
7.สูตรน้ำขมิ้น / นมสด / ดินสอพอง (ช่วยให้ผิวชุ่มชื่น เปล่งปลั่ง เรียบเนียน ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการผดผื่นคัน)
- การทำน้ำขมิ้นให้นำขมิ้นสดมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นแล้วตำจนแหลก ผสมกับน้ำเล็กน้อย แล้วกรองเอาน้ำด้วยผ้าขาวบาง
- เตรียมวัตถุดิบดังนี้ น้ำขมิ้น 1 ช้อนชา / นมสด 2 ช้อนชา / และดินสอพองสะตุ 5 เม็ดใหญ่
- นำดินสอพองมาบดจนละเอียด แล้วใส่นมสด น้ำขมิ้นผสมลงไปคนให้เข้ากัน
- นำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
8.สูตรขมิ้นแห้ง / ว่านนางคำ / ไพล / ดินสอพอง (สูตรบำรุงผิว ลดสิว)
- เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ขมิ้นแห้ง 25 กรัม / ว่านนางคำ 200 กรัม / ไพล 50 กรัม / ดินสอพอง 1,000 กรัม
- นำทุกอย่างมาผสมรวมกันแล้วบดให้ละเอียด
- เสร็จแล้วนำมาพอกหน้าหรือผิวตัวประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นและตามด้วยน้ำเย็นสลับกัน
- หากคุณผิวมันควรนำมาผสมกับน้ำมันมะกรูดเผาไฟ แต่ถ้าคุณเป็นคนผิวแห้งควรนำไปผสมกับน้ำผึ้งหรือนมสด
รักษาสิวและทำให้หน้าใส ด้วยสูตรผงขมิ้นผสมกับน้ำนม หรือน้ำผึ้ง
ที่มา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สนุกพีเดีย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, เว็บไซต์มุสลิมไทยโพสต์
คุณกร ตั้งจุฑาชัย. 2539. สรรพคุณของขมิ้นชัน.สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561
คุณกร ตั้งจุฑาชัย. 2539. สรรพคุณของขมิ้นชัน.สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561
อัญญาณี คล้ายสมบรูณ์.2551. ขมิ้นชัน.
สืบค้นเมื่อวันที่
14 สิงหาคม 2561 จาก https://www.honestdocs.co
https://medthai.com/%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/
https://medthai.com/%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น